Dr.wanchai

ชวนทำความรู้จักคณาจารย์TSE รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ไพจิตโรจนา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

ประวัติการศึกษา
◆ Ph.D. (Optoelectronics), King’s College, University of London, UK
◆ M.Sci. (Nonlinear Optics), University of Southern California, USA
◆ M.Eng. (Computer Technology), Asian Institute of Technology, Thailand
◆ B.Eng. (Telecommunications), King Mongkut’s Institute of Technology, Thailand

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ (ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านควอนตัม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ความเชี่ยวชาญ
    ◆ Quantum Science and Technology
    ◆ Optical Engineering System Design
    ◆ Transformation Optics
    ◆ Wireless Power Transfer System
    ◆ Bio-sensing Technologies
    ◆ Electromagnetic Theory
    ◆ Quantum Mechanics
    ◆ Synchrotron Techniques: X-ray Absorption Spectroscopy (XAS)

Q&A

**  ผู้ที่อยากเข้ามาเรียนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ควรมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร?

อ.วันชัย : เบื้องต้น ผู้เรียนควรมีความสนใจและมีใจรักในการศึกษาหาความรู้ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้มีองค์ความรู้ตามกรอบมาตรฐานอันได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การวัดและระบบควบคุม การแปลงรูปพลังงาน ระบบไฟฟ้ากำลัง ทฤษฎีการสื่อสาร การประมวลผลสัญญาณ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย เป็นต้น นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งหากผู้เรียนมีทักษะในการการคิดวิเคราะห์ปัญหา หมั่นเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนสามารถต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ไปสู่โลกของการทำงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าได้

**  เทรนด์การทำงานของวิศวกรไฟฟ้า หรือ เทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้า ท่านคิดว่าในอนาคตจะมีการเติบโตไปในทิศทางใด อย่างไร?

อ.วันชัย : ด้วยปัจจุบันเข้าสู่ยุคของควอนตัม ยุคที่ 2.0 (Quantum Generation 2.0) ความที่อาจารย์เป็นผู้ที่ตามติดความรู้ทางเทคโนโลยีสาขา Quantum Technology หรือ Quantum Engineering และเล็งเห็นความทรงอิทธิพลของมันที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้านในระดับที่ยากเกินกว่าคอมพิวเตอร์คลาสสิกจะจัดการได้ ลองนึกภาพว่าหากเรามีเทคโนโลยีแสนอัจฉริยะที่สามารถปรับปรุงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Optimization) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีการใช้ระบบเครือข่ายคำนวณควอนตัมเพื่อหาชุดตัวแปรที่ช่วยวิเคราะห์ข้อเสนอและความต้องการของลูกค้า ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ใช้ควอนตัมในการประเมินความเสี่ยง-ความคุ้มค่าของแหล่งขุดเจาะน้ำมัน หรือแม้แต่ในอุตสหกรรมสุขภาพและการแพทย์ เราสามารถใช้ระบบควอนตัมในการวินิจฉัยโรคเชิงลึก และพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ ๆ เพื่อที่นักวิจัยจะได้ไม่ต้องใช้เวลานานในการลองผิดลองถูกในขั้นตอนการหาโครงสร้างยาที่เหมาะสมสำหรับรักษาโรค ฯลฯ หากผู้เรียนมีความสนใจเทรนด์เทคโนโลยีควอนตัม กระทั่งอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์คิดว่าสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสามารถตอบโจทย์ได้

สามารถติดตามอ่านผลงานวารสารวิชาการของท่านอาจารย์วันชัย ไพจิตโรจนา ได้ที่
https://www.researchgate.net/profile/Wanchai-Pijitrojana

  • 4 กรกฎาคม 2565

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์